(ก๊าซ LPG) แก๊ส LPG | (ก๊าซ NGV) แก๊ส NGV |
แหล่งก๊าซ LPG เป็นก๊าซที่มีส่วนผสมระหว่างก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) ซึ่งจะมาจาก 3 แหล่งหลัก คือ 1. โรงแยกก๊าซ ปตท. ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตที่ 54% 2. โรงกลั่นน้ำมัน มีสัดส่วนการผลิตที่ 40% 3. โรงงานปิโตรเคมี มีสัดส่วนการผลิตที่ 6% หมายเหตุ การผลิต LPG มีปริมาณ 180.36 ล้านกิโลกรัมต่อเดือน มาจากโรงแยกก๊าซ 96.66 ล้านกิโลกรัม จากโรงกลั่น 73.44 ล้านกิโลกรัม และจากโรงงานปิโตรเคมี 10.26 ล้านกิโลกรัม (ข้อมูลเฉลี่ย ณ สิ้นปี 2549) | แหล่งก๊าซ NGV เป็นก๊าซที่มาจาก อ่าวไทยและนำเข้าจากประเทศพม่า ซึ่งก๊าซที่นำมาจากอ่าวไทย จะผ่านกระบวนการแยกก๊าซที่โรงแยกก๊าซ ซึ่งจะทำการแยกก๊าซที่มีไฮโดรคาร์บอน ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปออก จะเหลือเฉพาะก๊าซที่มีคาร์บอน 1 ตัว ซึ่งเรียกว่าก๊าซมีเทน และจะถูกส่งเข้าระบบท่อ เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า รองลงมาจะถูกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และบางส่วนนำมาใช้ในภาคขนส่ง โดยนำก๊าซธรรมชาติไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูง และนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ NGV หรือ CNG ณ สิ้นปี 2549 ปริมาณก๊าซที่นำขึ้นจากอ่าวไทย มีปริมาณวันละประมาณ 2,225 ล้านลูกบาศก์ฟุต ผ่านขบวนการแยกก๊าซ C2 (อีเทน) C3 (โพรเพน) และ C4 (บิวเทน) ออกประมาณ 512 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือร้อยละ 23 ส่วนที่เหลือ(ซึ่งมีก๊าซมีเทนเป็นส่วนประกอบหลัก) ประมาณ 1,713 ล้านลูกบาศก์ฟุต จะถูกส่งกลับเข้าระบบท่อ สำหรับก๊าซที่นำเข้าจากพม่า จะถูกนำมาใช้โดยตรง โดยไม่ผ่านโรงแยกก๊าซ โดยมีการนำเข้าทั้งสิ้น 865 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน |
คุณสมบัติ LPG LPG เป็นก๊าซที่มีส่วนผสมระหว่างก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) ซึ่งมีคุณสมบัติที่หนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะสะสมตามพื้น เมื่อโดนประกายไฟสามารถลุกไหม้ได้ LPG เป็นก๊าซที่สามารถเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลวได้ ภายใต้ความดันตั้งแต่ 6-7 บาร์ ส่วนขีดจำกัดการติดไฟจะต่ำกว่า NGV คือประมาณ 2-9.5% โดยปริมาตร ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีปริมาณก๊าซ LPG ตั้งแต่ 2% ขึ้นไป สามารถจะลุกติดไฟได้ ส่วนอุณหภูมิติดไฟจะประมาณ 480 องศาเซลเซียส ซึ่งจะต่ำกว่าก๊าซ NGV | คุณสมบัติ NGV NGV มีก๊าซมีเทน (C1) เป็นส่วนประกอบหลักซึ่งมีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะกระจายตัวขึ้นสู่บรรยากาศโดยรวดเร็ว และจะคงสถานะของก๊าซได้ภายใต้ความดันสูง สำหรับขีดจำกัดการติดไฟต้องมีปริมาณก๊าซตั้งแต่ 5-15% จึงจะมีโอกาสลุกติดไฟได้เมื่อมีประกายไฟเกิดขึ้น ส่วนอุณหภูมิติดไฟด้วยตัวเองจะสูงถึง 650 องศาเซลเซียส |
ความปลอดภัย LPG LPG เป็นก๊าซที่อันตรายกว่าก๊าซ NGV เนื่องจากเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะเกิดการสะสมตัวตามพื้นล่าง และสามารถลุกติดไฟได้ถ้าเกิดประกายไฟ รวมถึงขีดจำกัดการติดไฟและอุณหภูมิติดไฟต่ำกว่าก๊าซ NGV | ความปลอดภัย NGV NGV เป็นเชื้อเพลิงที่ปลอดภัยที่สุด เมื่อเทียบกับ LPG น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่เบากว่าอากาศ ดังนั้นเมื่อเกิดการรั่วไหลจะกระจายตัวขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศด้านบน อย่างรวดเร็ว ไม่เกิดการสะสมตัวเหมือน LPG รวมถึงขีดจำกัดการติดไฟ และอุณหภูมิติดไฟด้วยตัวเองจะสูงกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น |
ระบบการจัดจ่าย LPG LPG จะใช้การขนส่งโดยรถบรรทุกจากคลังก๊าซ แต่ละแห่ง (ปตท. มีคลังก๊าซ LPG 7 คลัง ทั่วประเทศ) ไปยังสถานีเติมก๊าซ LPG ซึ่งการขนส่งส่วนใหญ่ลูกค้าจะเป็นผู้นำรถบรรทุกมาเติมก๊าซ ที่คลังเอง และรถบรรทุกที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นรถขนาด 8 ตัน | ระบบการจัดจ่าย NGV ระบบการขนส่ง NGV จะมี 2 รูปแบบ คือ 1) ขนส่งผ่านทางระบบท่อส่งก๊าซ โดยสถานีที่ใช้การขนส่งทางระบบท่อ จะต้องเป็นสถานีที่อยู่ตามแนวท่อส่งก๊าซ ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยลดภาระค่าขนส่งลงได้ แต่ต้องมีการลงทุนติดตั้งระบบมิเตอร์เพื่อวัดปริมาณก๊าซ 2) ขนส่งโดยใช้รถบรรทุก ซึ่งสถานีที่ไม่อยู่ตามแนวท่อส่งก๊าซจำเป็นต้องใช้รถบรรทุกหัวลาก (Trailer) และรถบรรทุกหกล้อ วิ่งขนส่ง โดยการขนส่งแต่ละเที่ยวของรถหัวลาก จะบรรทุกก๊าซได้ประมาณ 3.5 ตัน ส่วนรถบรรทุกหกล้อจะบรรทุกก๊าซได้ประมาณ 1.5 ตัน ซึ่งการขนส่งนี้รถบรรทุกจะวิ่งเติมก๊าซจากสถานีแม่ และวิ่งไปส่งที่สถานีลูก |
การนำมาใช้กับเครื่องยนต์ LPG LPG สามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน และดีเซลเช่นเดียวกับ NGV โดยการนำมาใช้เครื่องยนต์เบนซิน จะมี 2 ระบบเช่นเดียวกับ NGV คือ 1) ระบบดูดก๊าซ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 15,000 – 28,000 บาท 2) ระบบฉีดก๊าซ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 35,000 – 43,000 บาท ส่วนอัตราความสิ้น เปลืองเชื้อเพลิง LPG อยู่ที่ 11.1 กิโลเมตร/ลิตร ซึ่งเป็นอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ยของการวิ่งทดสอบในเมือง, นอกเมือง และบนทางด่วน (โครงการทดสอบรถยนต์ใช้ NGV, LPG และเบนซิน โดยกรมธุรกิจพลังงาน) ถ้าคิดเป็นค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นต่อ 1 กิโลเมตร การใช้ LPG จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 0.92 บาท | การนำมาใช้กับเครื่องยนต์ NGV NGV สามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน การใช้ NGV จะแบ่งเป็น 2 ระบบคือ 1) ระบบดูดก๊าซ จะมีการทำงานคล้ายกับระบบคาร์บูเรเตอร์ ของเครื่องยนต์เบนซิน โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 38,000 – 45,000 บาท 2) ระบบฉีดก๊าซ เป็นระบบที่มี ECU ควบคุมการจ่ายก๊าซตามลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 58,000 – 65,000 บาท ส่วนอัตราความสิ้น เปลืองเชื้อเพลิง NGV อยู่ที่ 15.26 กิโลเมตร/กิโลกรัม ซึ่งเป็นอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ยของการวิ่งทดสอบในเมือง, นอกเมือง และบนทางด่วน (โครงการทดสอบรถยนต์ใช้ NGV, LPG และเบนซิน โดยกรมธุรกิจพลังงาน) ถ้าคิดเป็นค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นต่อ 1 กิโลเมตร การใช้ NGV จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 0.59 บาท ทั้งนี้ NGV ประหยัดกว่า LPG ร้อยละ 35 และประหยัดกว่า แก๊สโซฮอล์ ร้อยละ 74 |
ราคาขาย LPG ประมาณ 11.70 บาท/ลิตร Update 11 ก.พ.2555 05:00 | ราคาขาย NGV 9 บาท/กิโลกรัม Update 11 ก.พ.2555 05:00 |
หมายเหตุ - ค่าความร้อน NGV 1 กิโลกรัม เท่ากับ 35,947 BTU, ค่าความร้อน LPG 1 ลิตร เท่ากับ 25,380 BTU - เมื่อเปรียบเทียบราคาค่าติดตั้งและราคาขาย จะพบว่าราคาค่าติดตั้งของ NGV จะแพงกว่า LPG แต่เมื่อเทียบราคาค่าเชื้อเพลิง NGV จะถูกกว่า LPG ถึงร้อยละ 33 - ในอนาคตรถยนต์ NGV คงจะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะมีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์กำลังพัฒนาการผลิตรถยนต์ใช้ NGV จากโรงงานออกสู่ตลาดอยู่หลายราย |
ข้อมูลอ้างอิงจาก pttplc.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น