ติดตั้งแก๊ส LPG กับ NGV อันไหนดีและต่างกันอย่างไร

ติดตั้งแก๊ส LPG กับ NGV อันไหนดีและต่างกันอย่างไร

กับคำถามยอดนิยม ติดตั้งแก๊ส LPG หรือ ติดตั้ง NGV อย่างไหนดีกว่ากัน เรามาทำความรู้จักเลยดีกว่าครับ

ก๊าซ LPG ย่อมาจาก Liquefied Petroleum Gas คือ ก๊าซหุงต้ม มีชื่อเป็นทางการว่าก๊าซปิโตรเลี่ยมเหลว liquefied petroleum gas เรียกย่อว่า LPG ซึ่งเป็นสารประกอบ ของ โพรเพน และบิวเพน ในอัตราส่วน 70 : 30 (Propane C3H8, Butane C4H10) ได้มาจากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน หรือ การแยกก๊าซธรรมชาติในโรงแยก ก๊าซธรรมชาติ

ส่วนก๊าซธรรมชาติ NGV ย่อมาจาก Natural Gas Vehicle หรือจริงๆ แล้วมันแปลว่า พาหนะที่ใช้แก๊ซธรรมชาติ แต่คนเราก็เหมารวมเรียกเป็นชื่อแก๊ซไปด้วย ตัวแก๊ซจริงๆ เรียกว่า CNG ย่อมาจาก Compressed Natural Gas ก๊าซธรรมชาติที่ถูกบีบอัด หรือ LNG : Liquefied Natural Gas ก๊าซธรรมชาติในรูปของเหลว เอาเป็นว่า จะเรียกว่าอะไรก็ตามมันคือ Natural Gas ก๊าซธรรมชาติ ก็แล้วกัน มีส่วนประกอบหลักๆ คือ มีเทน (Methane CH4) ซึ่งเบากว่าอากาศแหล่งก๊าซหลักๆ ได้แก่ อ่าวไทย และท่อส่งจากพม่า

คุณสมบัติทั่วไป : 
NGV เบากว่าอากาศ จึงลอยขึ้นข้างบน
LPG หนักกว่าอากาศ จึงกองรวมกับพื้น

สีและกลิ่น : ไร้สีและกลิ่นทั้งคู่ แต่ตามมาตรฐานความปลอดภัย จึงเติมกลิ่นฉุนๆ ลงไปให้เหม็นๆ เวลาแก๊สรั่วจะได้รู้

การเผาไหม้ : เผาไหม้ได้สมบูรณ์กว่าน้ำมันทั้งคู่ จึงมีเขม่าน้อย และไม่มีสารตะกั่ว

จุดเดือด : NGV (-162) C, LPG (-50) C
จุดระเบิด : NGV 540 C, LPG 400 C

การบรรจุ :
NGV เบากว่าอากาศและระเหยง่าย ดังนั้นในการบรรจุถังจึงต้องใช้แรงดันมากกว่าถังที่ใช้บรรจุ จึงต้องใช้ถังที่ทนแรงดันสูง เมื่อเติมเต็มแล้ว ก๊าซจะมีแรงดันราวๆ ประมาณ 2200-2800 PSI หากเติมเต็มๆจะถึง 3000 PSI หรือ 200 BARต้องใช้ถังเหล็กขึ้นรูป ไม่มีตะเข็บ จะหนาราวๆ 8 มม.
(ตามมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรป ECE R110)

LPG หนักกว่าอากาศ และเวลาบรรจุในถัง ก๊าซหุงต้มจะควบแน่นอยู่ในรูปของเหลว ถังที่บรรจุ จึงใช้ถังที่ทนแรงดันสูงไม่มาก เมื่อเติมเต็มแล้ว ก๊าซจะมีแรงดันราวๆ 100-130 PSI หรือประมาณ 4-6 BAR ต้องใช้ถังเหล็กขึ้นรูป ไม่มีตะเข็บ จะหนาราวๆ 2.5 มม.(ตามมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรป ECE 67)

** แรงดันลมขนาด 4-7 BAR มักใช้ในอุปกรณ์อุตสาหกรรมทั่วไป เช่น หัวฉีดลมสำหรับเป่าฝุ่น ซึ่งถ้ามาเป่าผิวหนังจะพอให้เป็นรอยบุ่มเล็กๆ ไม่เจ็บไม่คัน

ข้อดี - ของการติดตั้งแก๊ส LPG
1. เป็นแก๊สที่เมื่อบรรจุใส่ถังแล้วใช้แรงดันต่ำ ประมาณ 100-130 PSI หรือประมาณ 4-6 BAR
2. เป็นแก๊สที่มีกลิ่นเมื่อรั่วเราก็จะรู้ได้ทันที
3. ให้ค่าความร้อนใกล้เคียงกับน้ำมันเบ็นซิน
4. อุปกรณ์ต่างๆของระบบแก๊สรับแรงดันแก๊สค่อนข้างต่ำทำให้อายุการใช้งานยาวนาน และน้ำหนักเบา
5. หาเติมง่าย LPG มีปั๊มให้เลือกเติมได้ตามสบายนับไม่ถ้วน

ข้อเสีย - ของการติดตั้งแก๊ส LPG
1. เป็นแก๊สที่มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ เวลารั่วจะลอยตัวอยู่เหนือพื้นดิน หากเกิดประกายไฟจะทำให้ติดไฟได้ง่าย
2. เป็นระบบแก๊สที่ติดตั้งได้ง่ายจึงทำให้เกิดร้านติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐานมากมาย จึงเกิดปัญหาหลังจากนำไปใช้งาน

ข้อดี - ของการติดตั้ง NGV , CNG
1. เป็นแก๊สที่เบากว่าอากาศ เมื่อรั่วออกมาจากถังบรรจุจะลอยตัวขึ้น
2. ปตท.เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ในการขาย NGV ปั๊มที่มีขาย NGV ส่วนมากจึงเป็นปตท. บางจากมีนิดหน่อย (ประมาณว่า ราคาจึงขึ้นอยู่กับ ปตท.)
3. เนื่องด้วยการติดตั้งที่ยาก จึงต้องมีขั้นตอนการเปิดศูนย์ติดตั้งที่ได้มาตรฐาน ร้านค้าที่ติดถัง NGV ต้องได้ตามมาตรฐาน ปตท.
4. ราคาถูกกว่า LPG
5. ทางรัฐบาลสนับสนุนให้ใช้ NGV

ข้อเสีย  ของการติดตั้ง NGV , CNG
1. เป็นแก๊สที่ไม่สามารถบรรจุในถังด้วยแรงดันต่ำได้ เพราะไม่ยอมเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว จึงต้องบรรจุด้วยแรงดันสูงเพื่อการใช้งานที่ได้ระยะทางเพิ่มขึ้น ถัง 90 ลิตรน้ำ วิ่งได้ประมาณ 150 กม.แรงดันที่ใช้บรรจุอยู่ที่ 3,200 PSI
2. อุปกรณ์มีน้ำหนักมาก เนื่องด้วยต้องทำให้แข็งแรงทนต่อแรงดันที่สูงได้
3. ค่าความร้อนของตัวแก๊สจะต่ำกว่าน้ำมันเบ็นซินจึงทำให้สิ้นเปลืองแก๊สมากกว่า LPG
4. ต้องการการเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ
5. หาที่เติมยากกว่า LPG (ค่าสร้างปั๊มที่สามารถเติม NGV แพงเอาเรื่อง)
6. ค่าติดตั้งของ NGV จะสูงกว่า 2 เท่า ของ LPG

**เหตุผลที่ทางรัฐบาลสนับสนุน NGV คือ ไม่อยากให้คนใช้ LPG ในการเติมรถ เพราะเดี๋ยวก๊าซหุงต้มสำหรับใช้ตามครัวเรือนไม่พอ หรือทำให้มีราคาสูงขึ้น ฟังแล้วก็พอรับได้อยู่

ติดตั้งแก๊ส LPG หรือ ติดตั้ง NGV อันไหนปลอดภัยกว่า

ถ้าได้ใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานแล้ว มันก็ปลอดภัยพอๆกันแต่ถ้าเกิดในกรณีนอกเหนือความคาดหมายเช่นการรั่ว การแตก และมีแหล่งไฟใกล้เคียง อันไหนก็แย่พอกัน
ถ้าโดนชนหรือกระแทกในความเร็วเท่ากัน LPG ย่อมมีโอกาสรั่วสูงกว่า แต่ถ้าขนาดนั้น แต่โอกาสที่ชนแล้วทำให้ถังรั่วได้นั้น คนนั่งคงตายก่อนไปแล้วล่ะ

สำหรับ ถัง LPG ที่ได้มาตรฐาน จะมีวาลป์ควบคุม หากความดันภายในสูงกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งเนื่องมาจากการติดไฟของถังภายนอก และก๊าซมันขยายตัววาลป์จะค่อยๆปล่อยก๊าซออกมา เพื่อลดแรงดัน
ไม่ให้ก๊าซในถังเกิดการระเบิด ซึ่งกว่าจะปล่อยหมด จะกินเวลาราวๆ 15 นาทีทำให้ตัวไฟ จะลุกไหม้อยู่ในส่วนถังเท่านั้น และถังไม่ระเบิด

(ราคา NGV 8.50 บาท LPG 11.11-11.80 บาท)
แต่ LPG เติมเต็มถังวิ่งได้ประมาณ 350-450 กิโล ส่วน NGV เติมเต็มถังวิ่งได้ประมาณ 150 กิโล ต้องเติมบ่อยกว่า

ข้อดี - ข้อเสีย ของเครื่องยนต์ที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง



ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
bangchak.co.th, ellebazi.exteen.com, gasthai.com, pttplc.com, topboosters.net, weekendhobby.com

1 ความคิดเห็น:

  1. เท่าที่ทราบมาเบนซิน มีความไวไฟกว่า LPG ถังน้ำมัน และท่อที่ติดตั้งก็บอบบางกว่า ถ้าเกิดอุบัติเหตุมีโอกาส ที่น้ำมันรั่วไหลมากว่าถังแก๊ส ไม่มีใคร ท้วงติงอย่างไร

    ตอบลบ