ความแตกต่างระหว่าง NGV กับ LPG

ไหนๆ จะติดตั้งแก๊สทั้งที เรามาทำความรู้จักและเปรียบเทียบกันดีกว่า ว่าระหว่าง แก๊ส LPG กับ แก๊ส NGV เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
(ก๊าซ LPG) แก๊ส LPG (ก๊าซ NGV) แก๊ส NGV
แหล่งก๊าซ LPG
เป็นก๊าซที่มีส่วนผสมระหว่างก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) ซึ่งจะมาจาก 3 แหล่งหลัก คือ

1. โรงแยกก๊าซ ปตท. ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตที่ 54%
2. โรงกลั่นน้ำมัน มีสัดส่วนการผลิตที่ 40%
3. โรงงานปิโตรเคมี มีสัดส่วนการผลิตที่ 6%

หมายเหตุ  การผลิต LPG มีปริมาณ 180.36 ล้านกิโลกรัมต่อเดือน มาจากโรงแยกก๊าซ 96.66 ล้านกิโลกรัม จากโรงกลั่น 73.44 ล้านกิโลกรัม และจากโรงงานปิโตรเคมี 10.26 ล้านกิโลกรัม (ข้อมูลเฉลี่ย ณ สิ้นปี 2549)
แหล่งก๊าซ NGV
เป็นก๊าซที่มาจาก อ่าวไทยและนำเข้าจากประเทศพม่า ซึ่งก๊าซที่นำมาจากอ่าวไทย จะผ่านกระบวนการแยกก๊าซที่โรงแยกก๊าซ ซึ่งจะทำการแยกก๊าซที่มีไฮโดรคาร์บอน ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปออก จะเหลือเฉพาะก๊าซที่มีคาร์บอน 1 ตัว ซึ่งเรียกว่าก๊าซมีเทน และจะถูกส่งเข้าระบบท่อ เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า รองลงมาจะถูกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และบางส่วนนำมาใช้ในภาคขนส่ง โดยนำก๊าซธรรมชาติไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูง และนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ NGV หรือ CNG

ณ สิ้นปี 2549 ปริมาณก๊าซที่นำขึ้นจากอ่าวไทย มีปริมาณวันละประมาณ 2,225 ล้านลูกบาศก์ฟุต ผ่านขบวนการแยกก๊าซ C2 (อีเทน) C3 (โพรเพน) และ C4 (บิวเทน) ออกประมาณ 512 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือร้อยละ 23 ส่วนที่เหลือ(ซึ่งมีก๊าซมีเทนเป็นส่วนประกอบหลัก) ประมาณ 1,713 ล้านลูกบาศก์ฟุต จะถูกส่งกลับเข้าระบบท่อ

สำหรับก๊าซที่นำเข้าจากพม่า จะถูกนำมาใช้โดยตรง โดยไม่ผ่านโรงแยกก๊าซ โดยมีการนำเข้าทั้งสิ้น 865 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
คุณสมบัติ LPG
LPG เป็นก๊าซที่มีส่วนผสมระหว่างก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) ซึ่งมีคุณสมบัติที่หนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะสะสมตามพื้น เมื่อโดนประกายไฟสามารถลุกไหม้ได้

LPG เป็นก๊าซที่สามารถเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลวได้ ภายใต้ความดันตั้งแต่ 6-7 บาร์ ส่วนขีดจำกัดการติดไฟจะต่ำกว่า NGV คือประมาณ 2-9.5% โดยปริมาตร ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีปริมาณก๊าซ LPG ตั้งแต่ 2% ขึ้นไป สามารถจะลุกติดไฟได้ ส่วนอุณหภูมิติดไฟจะประมาณ 480 องศาเซลเซียส ซึ่งจะต่ำกว่าก๊าซ NGV
คุณสมบัติ NGV
NGV มีก๊าซมีเทน (C1) เป็นส่วนประกอบหลักซึ่งมีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะกระจายตัวขึ้นสู่บรรยากาศโดยรวดเร็ว และจะคงสถานะของก๊าซได้ภายใต้ความดันสูง

สำหรับขีดจำกัดการติดไฟต้องมีปริมาณก๊าซตั้งแต่ 5-15% จึงจะมีโอกาสลุกติดไฟได้เมื่อมีประกายไฟเกิดขึ้น ส่วนอุณหภูมิติดไฟด้วยตัวเองจะสูงถึง 650 องศาเซลเซียส
ความปลอดภัย LPG
LPG เป็นก๊าซที่อันตรายกว่าก๊าซ NGV เนื่องจากเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะเกิดการสะสมตัวตามพื้นล่าง และสามารถลุกติดไฟได้ถ้าเกิดประกายไฟ รวมถึงขีดจำกัดการติดไฟและอุณหภูมิติดไฟต่ำกว่าก๊าซ NGV
ความปลอดภัย NGV
NGV เป็นเชื้อเพลิงที่ปลอดภัยที่สุด เมื่อเทียบกับ LPG น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่เบากว่าอากาศ ดังนั้นเมื่อเกิดการรั่วไหลจะกระจายตัวขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศด้านบน อย่างรวดเร็ว ไม่เกิดการสะสมตัวเหมือน LPG รวมถึงขีดจำกัดการติดไฟ และอุณหภูมิติดไฟด้วยตัวเองจะสูงกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น
ระบบการจัดจ่าย LPG
LPG จะใช้การขนส่งโดยรถบรรทุกจากคลังก๊าซ แต่ละแห่ง (ปตท. มีคลังก๊าซ LPG 7 คลัง ทั่วประเทศ) ไปยังสถานีเติมก๊าซ LPG ซึ่งการขนส่งส่วนใหญ่ลูกค้าจะเป็นผู้นำรถบรรทุกมาเติมก๊าซ ที่คลังเอง และรถบรรทุกที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นรถขนาด 8 ตัน
ระบบการจัดจ่าย NGV
ระบบการขนส่ง NGV จะมี 2 รูปแบบ คือ

1) ขนส่งผ่านทางระบบท่อส่งก๊าซ โดยสถานีที่ใช้การขนส่งทางระบบท่อ จะต้องเป็นสถานีที่อยู่ตามแนวท่อส่งก๊าซ ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยลดภาระค่าขนส่งลงได้ แต่ต้องมีการลงทุนติดตั้งระบบมิเตอร์เพื่อวัดปริมาณก๊าซ
2) ขนส่งโดยใช้รถบรรทุก ซึ่งสถานีที่ไม่อยู่ตามแนวท่อส่งก๊าซจำเป็นต้องใช้รถบรรทุกหัวลาก (Trailer) และรถบรรทุกหกล้อ วิ่งขนส่ง โดยการขนส่งแต่ละเที่ยวของรถหัวลาก จะบรรทุกก๊าซได้ประมาณ 3.5 ตัน ส่วนรถบรรทุกหกล้อจะบรรทุกก๊าซได้ประมาณ 1.5 ตัน ซึ่งการขนส่งนี้รถบรรทุกจะวิ่งเติมก๊าซจากสถานีแม่ และวิ่งไปส่งที่สถานีลูก
การนำมาใช้กับเครื่องยนต์ LPG
LPG สามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน และดีเซลเช่นเดียวกับ NGV โดยการนำมาใช้เครื่องยนต์เบนซิน จะมี 2 ระบบเช่นเดียวกับ NGV คือ

1) ระบบดูดก๊าซ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 15,000 – 28,000 บาท
2) ระบบฉีดก๊าซ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 35,000 – 43,000 บาท
ส่วนอัตราความสิ้น เปลืองเชื้อเพลิง LPG อยู่ที่ 11.1 กิโลเมตร/ลิตร ซึ่งเป็นอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ยของการวิ่งทดสอบในเมือง, นอกเมือง และบนทางด่วน (โครงการทดสอบรถยนต์ใช้ NGV, LPG และเบนซิน โดยกรมธุรกิจพลังงาน) ถ้าคิดเป็นค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นต่อ 1 กิโลเมตร การใช้ LPG จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 0.92 บาท
การนำมาใช้กับเครื่องยนต์ NGV
NGV สามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน การใช้ NGV จะแบ่งเป็น 2 ระบบคือ

1) ระบบดูดก๊าซ จะมีการทำงานคล้ายกับระบบคาร์บูเรเตอร์ ของเครื่องยนต์เบนซิน โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 38,000 – 45,000 บาท
2) ระบบฉีดก๊าซ เป็นระบบที่มี ECU ควบคุมการจ่ายก๊าซตามลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 58,000 – 65,000 บาท
ส่วนอัตราความสิ้น เปลืองเชื้อเพลิง NGV อยู่ที่ 15.26 กิโลเมตร/กิโลกรัม ซึ่งเป็นอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ยของการวิ่งทดสอบในเมือง, นอกเมือง และบนทางด่วน (โครงการทดสอบรถยนต์ใช้ NGV, LPG และเบนซิน โดยกรมธุรกิจพลังงาน) ถ้าคิดเป็นค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นต่อ 1 กิโลเมตร การใช้ NGV จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 0.59 บาท ทั้งนี้ NGV ประหยัดกว่า LPG ร้อยละ 35 และประหยัดกว่า แก๊สโซฮอล์ ร้อยละ 74
ราคาขาย LPG ประมาณ 11.70 บาท/ลิตร
Update 11 ก.พ.2555 05:00
ราคาขาย NGV 9 บาท/กิโลกรัม
Update 11 ก.พ.2555 05:00

หมายเหตุ
- ค่าความร้อน NGV 1 กิโลกรัม เท่ากับ 35,947 BTU, ค่าความร้อน LPG 1 ลิตร เท่ากับ 25,380 BTU
- เมื่อเปรียบเทียบราคาค่าติดตั้งและราคาขาย จะพบว่าราคาค่าติดตั้งของ NGV จะแพงกว่า LPG แต่เมื่อเทียบราคาค่าเชื้อเพลิง NGV จะถูกกว่า LPG ถึงร้อยละ 33
- ในอนาคตรถยนต์ NGV คงจะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะมีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์กำลังพัฒนาการผลิตรถยนต์ใช้ NGV จากโรงงานออกสู่ตลาดอยู่หลายราย

ข้อมูลอ้างอิงจาก pttplc.com

ก่อนติดตั้งแก๊ส ต้องทำอย่างไรบ้าง

จะว่าไปแล้วทุกวันนี้การติดแก๊สก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่อะไร บ้างคนอาจจะเคยนำรถสุดที่รักไปติดแก๊สมาแล้วหลายต่อหลายคัน หรือว่าบ้างคนก็เพิ่งไปติดตั้งมาแบบสดๆร้อนๆ
แต่สำหรับคนที่กำลังจะติดตั้งแก๊สหรือกำคิดว่าจะติดตั้งอยู่อาจจะยังไม่รู้ หรือกำลัง งง อยู่ ว่าต้องทำอะไรบ้าง ต้องเริ่มตรงไหน อะไร ยังไง เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

เอกสารที่ต้องใช้ในการติดตั้ง ทั้งNGV และ LPG
        -สำเนาทะเบียนรถ
        -สำเนาบัตรประชาชน
ถามว่าทำไมต้องมีเอกสาร ก็เพราะว่าเมื่อเราติดตั้งแล้ว เราก็ต้องทำให้ถูกกฎหมายด้วย โดยทางอู่ที่ติดตั้งจะออก หนังสือ ตต-09 และใบรับรองวิศวะผู้ตรวจสอบ เพื่อนำไปจดทะเบียนรถติดตั้งแก๊สที่กรมการขนส่งทางบก

จากนั้นเราก็มาตรวจสอบสภาพรถยนต์ของเราว่าพร้อมจะติดแก๊สไหม
สำหรับรถไหมหรือรถป้ายแดงก็คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะขึ้นชื่อว่าของใหม่อะไรๆ มันก็ดีอยู่แล้วครับ อันนี้สามารถนำรถของท่านไปติดตั้งได้เลย แต่สำหรับรถที่มีการใช้งานมาแล้วในระดับหนึ่งหรืออายุการใช้งานนานแล้ว ก็ต้องตรวจสอบสภาพกันก่อนครับโดยจุดสำคัญๆ คือ คอยล์จุดระเบิด หัวเทียน สายหัวเทียน หม้อน้ำ ท่อน้ำ กรองอากาศ

- หัวเทียน ตามปกติหัวเทียนธรรมดามีอายุการใช้งาน ตั้งแต่ 40,000 - 60,000 กม. และหัวเทียนแบบอิริเดียมจะมีอายุการใช้งานถึง 100,000 กม. หากจำไม่ได้จริงๆว่าเปลี่ยนไปเมื่อไหร่ ก็เปลี่ยนใหม่เสียเลย เพราะหัวเทียนมีผลต่อการใช้แก๊สมากครับ
- คอยล์จุดระเบิด (ignition coil) จำเป็นอย่างมากสำหรับรถยนต์ที่ใช้แก๊ส ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าแรงดันสูงใหหัวเทียนทำการจุดระเบิดได้ โดยทั่วอายุการใช้งานจะมากกว่า 150,000 กม.
- สายหัวเทียน ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้ามาที่หัวเทียนเพื่อจุดระเบิด หากเสื่อมสภาพ เช่น ชำรุด ฉนวนหุ้มกรอบแตกไฟอาจรั่วเข้าตัวรถหรือลงกราวด์ ไฟที่ไปให้หัวเทียนจุดระเบิดก็ไม่เต็มที่ อาจเกิดอาการเครื่องยนต์สะดุดโดยเฉพาะในช่วงเครื่องยนต์เดินเบา เร่งไม่ขึ้น ชะงักในจังหวะเร่งเครื่อง เพราะหัวเทียนไม่จุดระเบิดเครื่องยนต์ไม่มีแรง และกินน้ำมันมากกว่าปกติ
- กรองอากาศ  เป็นปัจจัยหลักในการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ หากกรองอากาศตันจะมีผลต่อการใช้งานทั้งรถยนต์ที่เติมน้ำมันหรือใช้แก๊สก็ตาม และจะยิ่งมีปัญหาหากรถคุณเป็นระบบดูด
- หม้อน้ำ ท่อน้ำ หรือ ระบบหล่อเย็น ควรตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ระดับน้ำ ข้อต่อ วาล์วน้ำ พัดลมหม้อน้ำ

ติดตั้งแก๊ส LPG กับ NGV อันไหนดีและต่างกันอย่างไร

ติดตั้งแก๊ส LPG กับ NGV อันไหนดีและต่างกันอย่างไร

กับคำถามยอดนิยม ติดตั้งแก๊ส LPG หรือ ติดตั้ง NGV อย่างไหนดีกว่ากัน เรามาทำความรู้จักเลยดีกว่าครับ

ก๊าซ LPG ย่อมาจาก Liquefied Petroleum Gas คือ ก๊าซหุงต้ม มีชื่อเป็นทางการว่าก๊าซปิโตรเลี่ยมเหลว liquefied petroleum gas เรียกย่อว่า LPG ซึ่งเป็นสารประกอบ ของ โพรเพน และบิวเพน ในอัตราส่วน 70 : 30 (Propane C3H8, Butane C4H10) ได้มาจากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน หรือ การแยกก๊าซธรรมชาติในโรงแยก ก๊าซธรรมชาติ

ส่วนก๊าซธรรมชาติ NGV ย่อมาจาก Natural Gas Vehicle หรือจริงๆ แล้วมันแปลว่า พาหนะที่ใช้แก๊ซธรรมชาติ แต่คนเราก็เหมารวมเรียกเป็นชื่อแก๊ซไปด้วย ตัวแก๊ซจริงๆ เรียกว่า CNG ย่อมาจาก Compressed Natural Gas ก๊าซธรรมชาติที่ถูกบีบอัด หรือ LNG : Liquefied Natural Gas ก๊าซธรรมชาติในรูปของเหลว เอาเป็นว่า จะเรียกว่าอะไรก็ตามมันคือ Natural Gas ก๊าซธรรมชาติ ก็แล้วกัน มีส่วนประกอบหลักๆ คือ มีเทน (Methane CH4) ซึ่งเบากว่าอากาศแหล่งก๊าซหลักๆ ได้แก่ อ่าวไทย และท่อส่งจากพม่า

คุณสมบัติทั่วไป : 
NGV เบากว่าอากาศ จึงลอยขึ้นข้างบน
LPG หนักกว่าอากาศ จึงกองรวมกับพื้น

สีและกลิ่น : ไร้สีและกลิ่นทั้งคู่ แต่ตามมาตรฐานความปลอดภัย จึงเติมกลิ่นฉุนๆ ลงไปให้เหม็นๆ เวลาแก๊สรั่วจะได้รู้

การเผาไหม้ : เผาไหม้ได้สมบูรณ์กว่าน้ำมันทั้งคู่ จึงมีเขม่าน้อย และไม่มีสารตะกั่ว

จุดเดือด : NGV (-162) C, LPG (-50) C
จุดระเบิด : NGV 540 C, LPG 400 C

การบรรจุ :
NGV เบากว่าอากาศและระเหยง่าย ดังนั้นในการบรรจุถังจึงต้องใช้แรงดันมากกว่าถังที่ใช้บรรจุ จึงต้องใช้ถังที่ทนแรงดันสูง เมื่อเติมเต็มแล้ว ก๊าซจะมีแรงดันราวๆ ประมาณ 2200-2800 PSI หากเติมเต็มๆจะถึง 3000 PSI หรือ 200 BARต้องใช้ถังเหล็กขึ้นรูป ไม่มีตะเข็บ จะหนาราวๆ 8 มม.
(ตามมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรป ECE R110)

LPG หนักกว่าอากาศ และเวลาบรรจุในถัง ก๊าซหุงต้มจะควบแน่นอยู่ในรูปของเหลว ถังที่บรรจุ จึงใช้ถังที่ทนแรงดันสูงไม่มาก เมื่อเติมเต็มแล้ว ก๊าซจะมีแรงดันราวๆ 100-130 PSI หรือประมาณ 4-6 BAR ต้องใช้ถังเหล็กขึ้นรูป ไม่มีตะเข็บ จะหนาราวๆ 2.5 มม.(ตามมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรป ECE 67)

** แรงดันลมขนาด 4-7 BAR มักใช้ในอุปกรณ์อุตสาหกรรมทั่วไป เช่น หัวฉีดลมสำหรับเป่าฝุ่น ซึ่งถ้ามาเป่าผิวหนังจะพอให้เป็นรอยบุ่มเล็กๆ ไม่เจ็บไม่คัน

ข้อดี - ของการติดตั้งแก๊ส LPG
1. เป็นแก๊สที่เมื่อบรรจุใส่ถังแล้วใช้แรงดันต่ำ ประมาณ 100-130 PSI หรือประมาณ 4-6 BAR
2. เป็นแก๊สที่มีกลิ่นเมื่อรั่วเราก็จะรู้ได้ทันที
3. ให้ค่าความร้อนใกล้เคียงกับน้ำมันเบ็นซิน
4. อุปกรณ์ต่างๆของระบบแก๊สรับแรงดันแก๊สค่อนข้างต่ำทำให้อายุการใช้งานยาวนาน และน้ำหนักเบา
5. หาเติมง่าย LPG มีปั๊มให้เลือกเติมได้ตามสบายนับไม่ถ้วน

ข้อเสีย - ของการติดตั้งแก๊ส LPG
1. เป็นแก๊สที่มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ เวลารั่วจะลอยตัวอยู่เหนือพื้นดิน หากเกิดประกายไฟจะทำให้ติดไฟได้ง่าย
2. เป็นระบบแก๊สที่ติดตั้งได้ง่ายจึงทำให้เกิดร้านติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐานมากมาย จึงเกิดปัญหาหลังจากนำไปใช้งาน

ข้อดี - ของการติดตั้ง NGV , CNG
1. เป็นแก๊สที่เบากว่าอากาศ เมื่อรั่วออกมาจากถังบรรจุจะลอยตัวขึ้น
2. ปตท.เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ในการขาย NGV ปั๊มที่มีขาย NGV ส่วนมากจึงเป็นปตท. บางจากมีนิดหน่อย (ประมาณว่า ราคาจึงขึ้นอยู่กับ ปตท.)
3. เนื่องด้วยการติดตั้งที่ยาก จึงต้องมีขั้นตอนการเปิดศูนย์ติดตั้งที่ได้มาตรฐาน ร้านค้าที่ติดถัง NGV ต้องได้ตามมาตรฐาน ปตท.
4. ราคาถูกกว่า LPG
5. ทางรัฐบาลสนับสนุนให้ใช้ NGV

ข้อเสีย  ของการติดตั้ง NGV , CNG
1. เป็นแก๊สที่ไม่สามารถบรรจุในถังด้วยแรงดันต่ำได้ เพราะไม่ยอมเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว จึงต้องบรรจุด้วยแรงดันสูงเพื่อการใช้งานที่ได้ระยะทางเพิ่มขึ้น ถัง 90 ลิตรน้ำ วิ่งได้ประมาณ 150 กม.แรงดันที่ใช้บรรจุอยู่ที่ 3,200 PSI
2. อุปกรณ์มีน้ำหนักมาก เนื่องด้วยต้องทำให้แข็งแรงทนต่อแรงดันที่สูงได้
3. ค่าความร้อนของตัวแก๊สจะต่ำกว่าน้ำมันเบ็นซินจึงทำให้สิ้นเปลืองแก๊สมากกว่า LPG
4. ต้องการการเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ
5. หาที่เติมยากกว่า LPG (ค่าสร้างปั๊มที่สามารถเติม NGV แพงเอาเรื่อง)
6. ค่าติดตั้งของ NGV จะสูงกว่า 2 เท่า ของ LPG

**เหตุผลที่ทางรัฐบาลสนับสนุน NGV คือ ไม่อยากให้คนใช้ LPG ในการเติมรถ เพราะเดี๋ยวก๊าซหุงต้มสำหรับใช้ตามครัวเรือนไม่พอ หรือทำให้มีราคาสูงขึ้น ฟังแล้วก็พอรับได้อยู่

ติดตั้งแก๊ส LPG หรือ ติดตั้ง NGV อันไหนปลอดภัยกว่า

ถ้าได้ใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานแล้ว มันก็ปลอดภัยพอๆกันแต่ถ้าเกิดในกรณีนอกเหนือความคาดหมายเช่นการรั่ว การแตก และมีแหล่งไฟใกล้เคียง อันไหนก็แย่พอกัน
ถ้าโดนชนหรือกระแทกในความเร็วเท่ากัน LPG ย่อมมีโอกาสรั่วสูงกว่า แต่ถ้าขนาดนั้น แต่โอกาสที่ชนแล้วทำให้ถังรั่วได้นั้น คนนั่งคงตายก่อนไปแล้วล่ะ

สำหรับ ถัง LPG ที่ได้มาตรฐาน จะมีวาลป์ควบคุม หากความดันภายในสูงกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งเนื่องมาจากการติดไฟของถังภายนอก และก๊าซมันขยายตัววาลป์จะค่อยๆปล่อยก๊าซออกมา เพื่อลดแรงดัน
ไม่ให้ก๊าซในถังเกิดการระเบิด ซึ่งกว่าจะปล่อยหมด จะกินเวลาราวๆ 15 นาทีทำให้ตัวไฟ จะลุกไหม้อยู่ในส่วนถังเท่านั้น และถังไม่ระเบิด

(ราคา NGV 8.50 บาท LPG 11.11-11.80 บาท)
แต่ LPG เติมเต็มถังวิ่งได้ประมาณ 350-450 กิโล ส่วน NGV เติมเต็มถังวิ่งได้ประมาณ 150 กิโล ต้องเติมบ่อยกว่า

ข้อดี - ข้อเสีย ของเครื่องยนต์ที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง



ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
bangchak.co.th, ellebazi.exteen.com, gasthai.com, pttplc.com, topboosters.net, weekendhobby.com

ติดตั้งแก๊ส ข้อดี - ข้อเสีย ของเครื่องยนต์ที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง





ติดตั้งแก๊ส ข้อดี - ข้อเสีย ของเครื่องยนต์ที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง

- เมื่อเผาไหม้จะให้ความร้อนสูง ซึ่งเมื่อความร้อนถ่ายเทสู่น้ำมันเครื่องจะทำให้น้ำมันเครื่องเกิดปฏิกิริยากับไนโตรเจน และออกซิเจนในอากาศอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็วกว่าใช้น้ำมัน

- เมื่อเผาไหม้จะไม่มีเขม่าเหมือนน้ำมัน

- เมื่อเผาไหม้จะแห้ง ทำให้ไม่มีละอองน้ำมันไปหล่อลื่นวาล์ว จึงต้องอาศัยเถ้า (ash) ในน้ำมันเครื่องในปริมาณที่พอเหมาะเป็นตัวช่วยป้องกันการสึกหรอของวาล์ว

- ถ้ามีเถ้าในน้ำมันเครื่องมากเกินไป อาจส่งผลทำให้เครื่องยนต์จุดระเบิดก่อนได้ และเมื่อเถ้าเกิดสะสมบนบ่าวาล์วจะทำให้วาล์วเปราะ

- คุณสมบัติของน้ำมันเครื่องจะเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเร็วกว่าปกติเมื่อเทียบกับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามปกติของเครื่องยนต์ที่ให้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง

- ราคา LPG กับ NGV เมื่อเทียบกับน้ำมันยังถูกกว่ามาก (ประหยัด)

*เรื่องความปลอดภัย ถ้าดูแลดีๆก็ปลอดภัยพอๆ กับน้ำมัน (เชื้อเพลิงทุกประเภทอันตรายพอกันถ้าดูแลไม่ดี)


ขอขอบคุณ ติดตั้งแก๊ส.net
ภาพประกอบ :pornpradubyont.th.com

การจดทะเบียนรถติดตั้งแก๊ส LPG หรือ CNG

จดทะเบียนรถรถติดตั้งแก๊สที่กรมการขนส่งทางบก ,แจ้งแก้ไขชนิดเชื้อเพลิง รถติดตั้งแก๊ส LPG หรือ CNG
ติดตั้งแก๊ส แจ้งแก้ไขชนิดเชื้อเพลิง LPG, CNG การจดทะเบียน รถติดตั้งแก๊ส
แจ้งแก้ไขชนิดเชื้อเพลิง การจดทะเบียน รถติดตั้งแก๊ส


หลังจากติดตั้งแก๊สรถยนต์ LPG หรือ CNG เสร็จแล้ว จะต้องไปแจ้งแก้ไขชนิดเชื้อเพลิงในสมุดคู่มือทะเบียนรถให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยนะครับ (จดทะเบียนรถติดตั้งแก๊ส LPG หรือ CNG)

โดยสามารถยื่นเรื่องที่ กรมการขนส่งทางบก หรือสํานักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ และเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องไปทั้งหมด

ขั้นตอนการจดทะเบียนรถใช้แก๊ส

1.ทำการนำเอกสารที่อู่ติดตั้งแก๊สรถยนต์มอบให้ ประกอบด้วยใบวิศวะจากผู้ตรวจและหนังสือ ตต.09 จากอู่ติดตั้งแก๊สรถยนต์
2.ทำการเตรียมสำเนาบัตรประชาชนและหนังสือเล่มทะเบียนรถ (ใช้สำเนาเล่มทะเบียนรถแทนได้) ไปด้วย
3.ในการแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง ผู้แจ้งจะต้องมีชื่อเป็นผู้ครอบครอง ตามหนังสือเล่มทะเบียนรถ (หากเจ้าของรถไม่สะดวกหรือรถยังติดไฟแนนซ์อยู่ให้ทำหน้งสือมอบอำนาจไป)
4.ในกรณีรถยังติดไฟแนนซ์ แต่เรามีชื่อเป็นผู้ครอบครองรถ สามารถทำการจดทะเบียนได้เลย โดยไม่ต้องแจ้งไฟแนนซ์ เพราะทุกๆรอบการต่อภาษีรถยนต์ ไฟแนนซ์จะทำการอัพเดทลงเล่มทะเบียนให้เอง
5.ไปที่กรมการขนส่งทางบก พื้นที่ใดก็ได้ แล้วทำการขอเอกสาร “แบบคำขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนรถ” จากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
6.ทำการติ๊กถูกในช่อง “เปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงเป็น” แล้วกรอกเพิ่มเติมว่า
- 1.ในกรณีที่ติดแก๊ส LPGให้ลง “ก๊าซปิโตรเลียมเหลว”
- 2.ในกรณีที่ติดแก๊ส NGVให้ลง “ก๊าซธรรมชาติอัด”
7.ในช่อง “พร้อมนี้ได้ทำการแนบหลักฐานประกอบคำขอ” ให้ทำการกรอกเพิ่มดังนี้
- 1.หนังสือรับรองจากผู้ติดตั้งและวิศวกร
- 2.สำเนาบัตรประชาชน
- 3.ใบคู่มือจดทะเบียน
8.นำรถไปตรวจสภาพในช่องตรวจสภาพรถ
9.ยื่นเอกสารทั้งหมดให้กับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสภาพการติดแก๊ส และขูดหมายเลขตัวถังรถ
10.เจ้าหน้าที่ทำการขูดหมายเลขถังแก๊ส
11.เจ้าหน้าที่ทำการกรอกข้อมูลลงในเอกสารและคอมพิวเตอร์ ให้เรานั่งรอรับเอกสาร
12.ทำการชำระเงินค่าจดทะเบียน 125 บาท เจ้าหน้าที่จะทำการลงข้อมูลในเล่มให้ เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนทั้งหมด

**หมายเหตุ
- ควรทำการแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง ภายใน 15 วัน ตามวันที่ของหนังสือรับรอง ไม่เช่นนั้น หากเลยกำหนด จะโดนค่าปรับ 200 บาท ในกรณีแจ้งช้าครับ
- สำเนาทุกใบทั้งของวิศวกรผู้ตรวจและเจ้าของรถ ต้องมีลายเซนต์สำเนาถูกต้องของแต่ละคนกำกับด้วย (แยกของใครของมัน ไม่ใช่มีทั้งสองคนทุกใบนะครับ)


ที่มา : quikfitthailand.com , thaigascar.com

ติดตั้งแก๊ส LPG, CNG ต้องเข้ารับการตรวจจากกรมการขนส่งทางบก

ติดตั้งแก๊ส, ติดแก๊ส lpg, ติดแก๊สที่ไหน, ติดแก๊สรถยนต์


สำหรับเจ้าของรถที่เปลี่ยนมาติดตั้งแก๊ส CNG ต้องเข้ารับการตรวจจากกรมการขนส่งทางบกทุกปี ส่วนเจ้าของรถที่เปลี่ยนมาติดตั้งแก๊ส LPG ต้องตรวจทุก 5 ปีเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน

ปัจจุบันราคาน้ํามันมีการผันผวนและแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทําให้เจ้าของรถยนต์หันมาติดตั้งแก๊ส สําหรับใช้ก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์เพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยสําหรับรถใช็ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง กรมการขนส่งทางบก จึงกําหนดให้เจ้าของรถที่ติดตั้งแก๊ส CNG หรือ LPG เป็นเชื้อเพลิง จะต้องนํารถไปทําการตรวจและทดสอบการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ จากผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกก่อนชําระภาษี ประจําปี

เจ้าของรถที่นํารถเข้ารับการติดตั้งแก๊ส LPG หรือ CNG กับผู้ติดตั้ง ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก สามารถมั่นใจได้ในขั้นตอนวิธีการติดตั้งที่ถูกต้องปลอดภัย อีกทั้งอุปกรณ์ ที่ใช้ก็ ได้มาตรฐานตามที่กําหนด โดยรถที่ใช้ ก๊าซ CNG เป้นเชื้อเพลิง ต้องตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์ และส่วนควบทุกปี ยกเว้น เฉพาะการติดตั้งก๊าซ CNG จากโรงงานที่เป็นผู้ ผลิตรถยนต์ (Original Equipment Manufacturer) ให้ ตรวจและทดสอบหลังจากจดทะเบียนครั้งแรกมาแล้ว 3 ปี และครั้งต่อไปต้องตรวจทุกปี สําหรับรถที่ใช้ ก๊าซ LPG เป็นเชื่อเพลิงให้ ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบทุก 5 ปี นับแต่วันแจ้งการใช้ก๊าซเป็น เชื้อเพลิงเมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วเจ้าของรถจะต้องนํารถเข้ารับการตรวจสภาพและแจ้งแก้ไขชนิดเชื้อเพลิงในสมุดคู่มือทะเบียนรถให้ถูกต้อง ภายใน 15 วัน หลังจากที่ได้ทําการติดตั้งแล้ว ณ กรมการขนส่งทางบก หรือสํานักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ

สําหรับหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการนํารถเข้ารับการตรวจสภาพ ได้แก้
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ
- ใบรับรองการติดตั้ง
- ใบรับรองการตรวจและทดสอบ
- และสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนเจ้าของรถ
ซึ่งปัจจุบันมี ผู้ติดตั้งที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกทั่วประเทศแล้ว 800กว่าราย และผู้ตรวจและทดสอบจํานวน 200 กว่าราย

เจ้าของรถที่ประสงค์ จะเปลี่ยนแปลงชนิดเชื้อเพลิง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กลุ่มพลังงานและ
สิ่งแวดล้อม สํานักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบกจตุจักร หมายเลขโทรศัพท์ 0-2271-8604 หรือ สอบถาม 1584

dlt.go.th

ติดตั้งแก๊ส LPG หรือ CNG "เตือนเจ้าของรถ"

ติดตั้งแก๊ส, ติดแก๊ส lpg, ติดแก๊สที่ไหน, ติดแก๊สรถยนต์

เตือนเจ้าของรถติดตั้งแก๊ส LPG หรือ CNG กับผู้ติดตั้งแก๊สที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมฯเท่านั้น เผยทั่วประเทศมีมากกว่า 800 ราย สังเกตได้ จากป้ายสัญลักษณ์และใบอนุญาตติดตั้งแก๊สที่แสดงอยู่อย่างชัดเจน ระวัง!! อู่ติดตั้งไม่ได้ มาตรฐานหลอกขายใบรับรองปลอม

กรมการขนส่งทางบก ได้ออกมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยของรถที่ติดตั้งแก๊สเป็นเชื้อเพลิง โดยกําหนดให้ผู้ที่ติดตั้งแก๊ส LPG และ CNG ในรถยนต์ แก่ประชาชนจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมฯ ก่อนจึงจะดําเนินการได้ตามกฎหมาย ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ติดตั้งที่ได้รับความเห็นชอบแล้วอยู่ทั่วประเทศกว่า 800 รายจึงขอให้เจ้าของรถตรวจสอบรายชื่อและนํารถเข้ารับบริการกับ ผู้ติดตั้งแก๊สที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมฯโดยสังเกตได้จากป้ายสัญลักษณ์และใบอนุญาตเป็นผู้ติดตั้งแก๊สซึ่งแสดงอยู่ภายในสถานที่ติดตั้งอย่างชัดเจน เพื่อความปลอดภัยและไม่เกิดปัญหาในการดําเนินการทางทะเบียน

โดยหลังจากที่เจ้าของรถนํารถไปติดตั้งแก๊ส LPG หรือ CNG เป็นเชื้อเพลิงเรียบร็อยแล็ว จะต้องนํารถเข้ารับการตรวจและทดสอบความปลอดภัยจากผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมฯ อีกครั้ง หลังจากนั้น จึงไปติดต่อแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง ณ กรมการขนส่งทางบก หรือสํานักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ

โดยขณะนี้มีอู่หรือร้านติดตั้งแก๊ส LPG หรือ CNG ที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมฯ บางรายหลอกลวงเจ้าของรถด้วยการนําอุปกรณีที่ ไม่ได้มาตรฐานมาติดตั้งกับรถของประชาชน และออกใบรับรองปลอมให้แก่เจ้าของรถ หรือผู้ติดตั้งที่ได้รับความเห็นชอบแล้วบางรายไม่ได้ติดตั้งจริง ณ สถานประกอบการของตนเองแต่ขายอุปกรณ์และใบรับรองการติดตั้งให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับความเห็นชอบไปติดตั้งซึ่งไม่ปลอดภัยเช่นกัน

โดยกรมการขนส่งทางบกอยู่ระหว่างตรวจสอบเพื่อเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป เจ้าของรถจึงควรสังเกตรายชื่อผู้ติดตั้งในใบอนุญาตติดตั้งและสถานที่ให้บริการ ซึ่งจะต้องตรงกับที่ระบุไว้ในใบรับรองการติดตั้งเท่านั้น

สำหรับเจ้าของรถที่ประสงค์ใช้ ngv กับ lpg เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ติดตั้ง หรือผู้ตรวจ และทดสอบที่ได้รับความเห็นชอบได้ สอบถามเพิ่มเติมที่ กลุ่มพลังงานและสิ่งแวดล้อม สํานักวิศวกรรม ยานยนต์ กรมการขนส่งทางบกจตุจักรหมายเลขโทรศัพท์ 0-2271-8604 สํานักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ หรือ Call Center 1584


dlt.go.th