ถังแก๊ส NGV


ถังบรรจุแก๊สNGV หรือถังก๊าซ ถือเป็นเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากสำหรับการใช้ก๊าซธรรมชาติอัด เพราะต้องเป็นตัวบรรจุก๊าซซึ่งมีความดันสูงถึง 3,000-3,600 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว

ปัจจุบันมีการผลิตถังแก๊สอยู่ 4 ประเภท ได้แก่

ประเภทที่ 1 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม
ประเภทที่ 2 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้ว หรือ เส้นใยคาร์บอน
ประเภทที่ 3 ถังที่ทำด้วยแผ่นอลูมิเนียมที่บางกว่าชนิดที่ 2 และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วหรือเส้นใยคาร์บอนตลอดตัวถัง
ประเภทที่ 4 ถังที่ทำด้วยแผ่นพลาสติกและหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วและเส้นใยคาร์บอนผสมกันวัสดุใยแก้ว (Fiberglass)

ชนิดแรกจะมีน้ำหนักมากที่สุดแต่ต้นทุนต่ำสุดครับ ส่วนชนิดที่ 3 และ 4 มีน้ำหนักเบากว่าแต่ต้นทุนค่อนข้างสูง โดยสามารถเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วนต้นทุนและน้ำหนักของถังแก๊สทั้ง 4 ประเภทดังตารางต่อไปนี้

1. เหล็ก ต้นทุน 40% น้ำหนัก 100%
2. เหล็ก, วัสดุใยแก้ว ต้นทุน 80% น้ำหนัก 65%
    อลูมิเนียม, วัสดุใยแก้ว ต้นทุน 95% น้ำหนัก 55%
3. อลูมิเนียม และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้ว ต้นทุน 90% น้ำหนัก 45%
    อลูมิเนียม และหุ้มด้วยเส้นใยคาร์บอน ต้นทุน 100% น้ำหนัก 25%
4. พลาสติกและหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วและเส้นใยคาร์บอนผสมกันวัสดุใยแก้ว ต้นทุน 90% น้ำหนัก 30%

สำหรับถังบรรจุก๊าซ NGV ที่ใช้อยู่ในเมืองไทยของเรา ส่วนใหญ่เป็นถังเหล็กขนาดความจุประมาณ 70 ลิตร (น้ำ) มีน้ำหนักประมาณ 63 กิโลกรัม เมื่อรวมกับน้ำหนักก๊าซ NGV ที่บรรจุเต็มถังอีกประมาณ 15 กิโลกรัม จะมีน้ำหนักรวมประมาณ 78 กิโลกรัม

หลายท่านอาจมีคำถามค้างคาจิตใจว่าติดตั้งถังแก๊สไว้ในรถยนต์แล้วจะปลอดภัยหรือเปล่า ไม่ต้องเป็นห่วงครับ เพราะถังแก๊สทุกใบแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ หล่อขึ้นโดยไม่มีรอยต่อเป็นเนื้อเดียวตลอดทั้งถัง ขนาดใช้ปืนกล M.60 ซึ่งบรรจุกระสุนขนาด 7.62 มิลลิเมตร ยิงถังที่มีก๊าซ NGV บรรจุอยู่เต็มถัง ปรากฎว่าถังทะลุ ก๊าซพุ่งออกมาแล้วฟุ้งกระจายขึ้นไปในอากาศอย่างรวดเร็ว แสดงว่าถ้ารถของเรามีอุบัติเหตุทำให้ถังถูกเจาะจนทะลุ ก็จะไม่เกิดการระเบิดขึ้นครับ

และเรื่องของการทนความดัน ถังทุกใบทนความดันได้ถึง 2.5 เท่าของความดันปกติครับ ต่อให้มีไฟมาเผาถังแก๊สก็จะไม่มีอันตราย เพราะวาว์ลหัวถังก็ระบายก๊าซออกมาจากถัง โดยอัตโนมัติ

นั่นแสดงให้เห็นว่า หากเกิดอุบัติเหตุไฟใหม้รถยนต์ จนถังแก๊สมีอุณหภูมิหรือความดันเกินกำหนด วาว์ลนิรภัยที่หัวถังจะทำงานด้วยการระบายก๊าซออกจากถังทันทีเพื่อไม่ให้เกิดการระเบิดขึ้นครับ ทราบกันอย่างนี้แล้วก็คงหายห่วงแล้วใช่ไหมครับ รีบไปติดตั้งอุปกรณ์ NGV กันเลยนะครับ สนพ.รับรองว่าคุ้มแน่นอน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
www.eppo.go.th/ngv/ngv_gas.html

ขนาดถังแก๊ส และชนิดของถังแก๊ส


ขนาดถังแก๊ส และชนิดของถังแก๊ส

ถังแก๊สแบ่งได้ 3 ชนิด 
1. ถังแบบวาล์วแยก (วาล์วแยกส่วน 3 วาล์ , วาล์วแยกส่วน 4 วาล์ว) เติมแก๊สได้แค่ 85% (ตามกฎหมาย) ของความจุถัง เพราะเป็นเรื่องของความปลอดภัย
และมีอุปกรณ์เสริมเป็นสวิตซ์ควบคุมด้วยไฟฟ้า เพื่อเปิด-ปิดวาล์วเสริมความปลอดภัยขึ้นมาอีกระดับ
แทนที่ระบบปกติซึ่งจะต้องเดินมาปิดวาล์วที่ถังแต่ถ้าเป็นวาล์วไฟฟ้าเพียงแค่บิดกุญแจปิดเครื่องระบบปล่อยแก๊สก็จะปิดทันที

2. แบบมัลติวาล์ว ทั้งวาล์วรับแก๊สและปล่อยออกอยู่ในหน้ากากอันเดียว ควบคุมด้วยไฟฟ้าตลอด (กำลังเป็นที่นิยม)
3. แบบโดนัท และเป็นถังแบบมัลติวาล์วชนิดหนึ่ง

ถังแก๊สมีกี่ขนาด ไซน์ไหนบ้าง ความจุกี่ลิตร มาดูกันเลยดีกว่า

ถังแก๊สแบบแคปซูล (ขนาดและความจุขึ้นอยู่กับยี่ห้อ)
ขนาดถัง ขนาด mm ขนาด มัลติวาล์ว
25 ลิตร  630 x 245
36 ลิตร  870 x 245          245
48 ลิตร  792 x 200          295
58 ลิตร  800 x 320          295
64 ลิตร  1007 x 300        295
65 ลิตร  824 x 334        340
68 ลิตร  923 x 330         320
75 ลิตร 1024 x 320        320
76 ลิตร 835 x 354         340 หรือ 360
96 ลิตร  1160 x 334        340 หรือ 360
133 ลิตร  1335 x 354        340 หรือ 360

ถังแก๊สแบบโดนัท (ขนาดและความจุขึ้นอยู่กับยี่ห้อ)
ขนาดถัง        ขนาด                ขนาด มัลติวาล์ว
33 ลิตร   560*180           180
36 ลิตร   560*200           220
42 ลิตร   600*200           220
42 ลิตร   600*205           220
43 ลิตร   560*220           220
46 ลิตร   600*225           220
51 ลิตร   630*220            220
52 ลิตร   650*220           220
55 ลิตร   630*225           220
58 ลิตร   650*240            220
61 ลิตร   630*250           250
62 ลิตร   650*250           250
70 ลิตร สำหรับรถ Jeep           250
71 ลิตร   650*270           250 หรือ 270
 
โดยขนาดถังแก๊สแบบแคปซูล 25 ลิตร กำลังเป็นที่นิยมในหมู่รถเล็ก เช่น Yaris, starlet, jazz, Mazda2 เป็นต้น ส่วน 48 ลิตรจะอยู่ใน รถเก๋ง 1,500-1,600 ซีซีทั่วไป (รถแท็กซี่ก็ใช้ขนาดนี้เป็นส่วนใหญ่)
และ 58 ลิตรก็เป็นที่นิยมในหมู่รถเก๋งใหญ่เช่นกัน ส่วนถังแก๊ส 133 ลิตร จะเป็นพวกรถบรรทุก ที่นิยมใช้กัน



อ้างอิงจาก
ppautogas.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=9
thananangas.com/index.php?mo=3&art=160673
ภาพประกอบ
smpcplc.com

ความแตกต่างระหว่าง NGV กับ LPG

ไหนๆ จะติดตั้งแก๊สทั้งที เรามาทำความรู้จักและเปรียบเทียบกันดีกว่า ว่าระหว่าง แก๊ส LPG กับ แก๊ส NGV เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
(ก๊าซ LPG) แก๊ส LPG (ก๊าซ NGV) แก๊ส NGV
แหล่งก๊าซ LPG
เป็นก๊าซที่มีส่วนผสมระหว่างก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) ซึ่งจะมาจาก 3 แหล่งหลัก คือ

1. โรงแยกก๊าซ ปตท. ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตที่ 54%
2. โรงกลั่นน้ำมัน มีสัดส่วนการผลิตที่ 40%
3. โรงงานปิโตรเคมี มีสัดส่วนการผลิตที่ 6%

หมายเหตุ  การผลิต LPG มีปริมาณ 180.36 ล้านกิโลกรัมต่อเดือน มาจากโรงแยกก๊าซ 96.66 ล้านกิโลกรัม จากโรงกลั่น 73.44 ล้านกิโลกรัม และจากโรงงานปิโตรเคมี 10.26 ล้านกิโลกรัม (ข้อมูลเฉลี่ย ณ สิ้นปี 2549)
แหล่งก๊าซ NGV
เป็นก๊าซที่มาจาก อ่าวไทยและนำเข้าจากประเทศพม่า ซึ่งก๊าซที่นำมาจากอ่าวไทย จะผ่านกระบวนการแยกก๊าซที่โรงแยกก๊าซ ซึ่งจะทำการแยกก๊าซที่มีไฮโดรคาร์บอน ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปออก จะเหลือเฉพาะก๊าซที่มีคาร์บอน 1 ตัว ซึ่งเรียกว่าก๊าซมีเทน และจะถูกส่งเข้าระบบท่อ เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า รองลงมาจะถูกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และบางส่วนนำมาใช้ในภาคขนส่ง โดยนำก๊าซธรรมชาติไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูง และนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ NGV หรือ CNG

ณ สิ้นปี 2549 ปริมาณก๊าซที่นำขึ้นจากอ่าวไทย มีปริมาณวันละประมาณ 2,225 ล้านลูกบาศก์ฟุต ผ่านขบวนการแยกก๊าซ C2 (อีเทน) C3 (โพรเพน) และ C4 (บิวเทน) ออกประมาณ 512 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือร้อยละ 23 ส่วนที่เหลือ(ซึ่งมีก๊าซมีเทนเป็นส่วนประกอบหลัก) ประมาณ 1,713 ล้านลูกบาศก์ฟุต จะถูกส่งกลับเข้าระบบท่อ

สำหรับก๊าซที่นำเข้าจากพม่า จะถูกนำมาใช้โดยตรง โดยไม่ผ่านโรงแยกก๊าซ โดยมีการนำเข้าทั้งสิ้น 865 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
คุณสมบัติ LPG
LPG เป็นก๊าซที่มีส่วนผสมระหว่างก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) ซึ่งมีคุณสมบัติที่หนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะสะสมตามพื้น เมื่อโดนประกายไฟสามารถลุกไหม้ได้

LPG เป็นก๊าซที่สามารถเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลวได้ ภายใต้ความดันตั้งแต่ 6-7 บาร์ ส่วนขีดจำกัดการติดไฟจะต่ำกว่า NGV คือประมาณ 2-9.5% โดยปริมาตร ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีปริมาณก๊าซ LPG ตั้งแต่ 2% ขึ้นไป สามารถจะลุกติดไฟได้ ส่วนอุณหภูมิติดไฟจะประมาณ 480 องศาเซลเซียส ซึ่งจะต่ำกว่าก๊าซ NGV
คุณสมบัติ NGV
NGV มีก๊าซมีเทน (C1) เป็นส่วนประกอบหลักซึ่งมีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะกระจายตัวขึ้นสู่บรรยากาศโดยรวดเร็ว และจะคงสถานะของก๊าซได้ภายใต้ความดันสูง

สำหรับขีดจำกัดการติดไฟต้องมีปริมาณก๊าซตั้งแต่ 5-15% จึงจะมีโอกาสลุกติดไฟได้เมื่อมีประกายไฟเกิดขึ้น ส่วนอุณหภูมิติดไฟด้วยตัวเองจะสูงถึง 650 องศาเซลเซียส
ความปลอดภัย LPG
LPG เป็นก๊าซที่อันตรายกว่าก๊าซ NGV เนื่องจากเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะเกิดการสะสมตัวตามพื้นล่าง และสามารถลุกติดไฟได้ถ้าเกิดประกายไฟ รวมถึงขีดจำกัดการติดไฟและอุณหภูมิติดไฟต่ำกว่าก๊าซ NGV
ความปลอดภัย NGV
NGV เป็นเชื้อเพลิงที่ปลอดภัยที่สุด เมื่อเทียบกับ LPG น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่เบากว่าอากาศ ดังนั้นเมื่อเกิดการรั่วไหลจะกระจายตัวขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศด้านบน อย่างรวดเร็ว ไม่เกิดการสะสมตัวเหมือน LPG รวมถึงขีดจำกัดการติดไฟ และอุณหภูมิติดไฟด้วยตัวเองจะสูงกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น
ระบบการจัดจ่าย LPG
LPG จะใช้การขนส่งโดยรถบรรทุกจากคลังก๊าซ แต่ละแห่ง (ปตท. มีคลังก๊าซ LPG 7 คลัง ทั่วประเทศ) ไปยังสถานีเติมก๊าซ LPG ซึ่งการขนส่งส่วนใหญ่ลูกค้าจะเป็นผู้นำรถบรรทุกมาเติมก๊าซ ที่คลังเอง และรถบรรทุกที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นรถขนาด 8 ตัน
ระบบการจัดจ่าย NGV
ระบบการขนส่ง NGV จะมี 2 รูปแบบ คือ

1) ขนส่งผ่านทางระบบท่อส่งก๊าซ โดยสถานีที่ใช้การขนส่งทางระบบท่อ จะต้องเป็นสถานีที่อยู่ตามแนวท่อส่งก๊าซ ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยลดภาระค่าขนส่งลงได้ แต่ต้องมีการลงทุนติดตั้งระบบมิเตอร์เพื่อวัดปริมาณก๊าซ
2) ขนส่งโดยใช้รถบรรทุก ซึ่งสถานีที่ไม่อยู่ตามแนวท่อส่งก๊าซจำเป็นต้องใช้รถบรรทุกหัวลาก (Trailer) และรถบรรทุกหกล้อ วิ่งขนส่ง โดยการขนส่งแต่ละเที่ยวของรถหัวลาก จะบรรทุกก๊าซได้ประมาณ 3.5 ตัน ส่วนรถบรรทุกหกล้อจะบรรทุกก๊าซได้ประมาณ 1.5 ตัน ซึ่งการขนส่งนี้รถบรรทุกจะวิ่งเติมก๊าซจากสถานีแม่ และวิ่งไปส่งที่สถานีลูก
การนำมาใช้กับเครื่องยนต์ LPG
LPG สามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน และดีเซลเช่นเดียวกับ NGV โดยการนำมาใช้เครื่องยนต์เบนซิน จะมี 2 ระบบเช่นเดียวกับ NGV คือ

1) ระบบดูดก๊าซ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 15,000 – 28,000 บาท
2) ระบบฉีดก๊าซ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 35,000 – 43,000 บาท
ส่วนอัตราความสิ้น เปลืองเชื้อเพลิง LPG อยู่ที่ 11.1 กิโลเมตร/ลิตร ซึ่งเป็นอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ยของการวิ่งทดสอบในเมือง, นอกเมือง และบนทางด่วน (โครงการทดสอบรถยนต์ใช้ NGV, LPG และเบนซิน โดยกรมธุรกิจพลังงาน) ถ้าคิดเป็นค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นต่อ 1 กิโลเมตร การใช้ LPG จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 0.92 บาท
การนำมาใช้กับเครื่องยนต์ NGV
NGV สามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน การใช้ NGV จะแบ่งเป็น 2 ระบบคือ

1) ระบบดูดก๊าซ จะมีการทำงานคล้ายกับระบบคาร์บูเรเตอร์ ของเครื่องยนต์เบนซิน โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 38,000 – 45,000 บาท
2) ระบบฉีดก๊าซ เป็นระบบที่มี ECU ควบคุมการจ่ายก๊าซตามลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 58,000 – 65,000 บาท
ส่วนอัตราความสิ้น เปลืองเชื้อเพลิง NGV อยู่ที่ 15.26 กิโลเมตร/กิโลกรัม ซึ่งเป็นอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ยของการวิ่งทดสอบในเมือง, นอกเมือง และบนทางด่วน (โครงการทดสอบรถยนต์ใช้ NGV, LPG และเบนซิน โดยกรมธุรกิจพลังงาน) ถ้าคิดเป็นค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นต่อ 1 กิโลเมตร การใช้ NGV จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 0.59 บาท ทั้งนี้ NGV ประหยัดกว่า LPG ร้อยละ 35 และประหยัดกว่า แก๊สโซฮอล์ ร้อยละ 74
ราคาขาย LPG ประมาณ 11.70 บาท/ลิตร
Update 11 ก.พ.2555 05:00
ราคาขาย NGV 9 บาท/กิโลกรัม
Update 11 ก.พ.2555 05:00

หมายเหตุ
- ค่าความร้อน NGV 1 กิโลกรัม เท่ากับ 35,947 BTU, ค่าความร้อน LPG 1 ลิตร เท่ากับ 25,380 BTU
- เมื่อเปรียบเทียบราคาค่าติดตั้งและราคาขาย จะพบว่าราคาค่าติดตั้งของ NGV จะแพงกว่า LPG แต่เมื่อเทียบราคาค่าเชื้อเพลิง NGV จะถูกกว่า LPG ถึงร้อยละ 33
- ในอนาคตรถยนต์ NGV คงจะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะมีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์กำลังพัฒนาการผลิตรถยนต์ใช้ NGV จากโรงงานออกสู่ตลาดอยู่หลายราย

ข้อมูลอ้างอิงจาก pttplc.com